วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วีธีทำความสะอาดเครื่องเงิน ฉบับรวบรวม

หลายวิธี ทำความสะอาดเครื่องเงิน

เคยไหม ที่ค้นหา วิธีทำความสะอาดเครื่องเงิน แล้วเจอข้อมูลเยอะมาก จนไม่รู้จะเลือกใช้วิธีไหนดี เราได้รวบรวมมาให้แล้ว ลองอ่านกันดูนะ

faciel-powderวิธีที่ 1 ใช้ แป้งจีน (หาซื้อได้ทั่วไป) ใช้ขัดได้เลยไม่ต้องใช้น้ำ ก็ได้ผลดี
polishing-clothวิธีที่ 2 ง่ายๆ เลย เราเพียงแต่ซื้ออุปกรณ์ทำความสะอาดเครื่องเงินโดยเฉพาะ ซึ่งมีด้วยกันหลากหลายยี่ห้อ ทั้งที่เป็นแบบผ้าเช็ดทำความสะอาดสำเร็จรูป ซึ่งใช้สำหรับทำความสะอาดเครื่องเงินโดยเฉพาะ หรือจะเป็นแบบครีมกระปุกสำหรับเช็ดทำความสะอาดเครื่องประดับ ซึ่งหาซื้อง่ายตามร้านขายเครื่องประดับทั่วไป ถ้าอยากทำครีมใช้เองก็ –> วิธีทำครีมขัดเครื่องเงิน
cleansilver01-300x225วิธีที่ 3 คือการต้ม อาจจะเป็นน้ำส้มสายชู หรือน้ำมะขามเปียกก็ได้ แล้วแต่จะหาได้ ผสมน้ำสัก 1 ต่อ 2 ต้มพอเดือดก็เอาเครื่องเงินจุ่มลงไปสักครู่ก็จะได้เครื่องเงินที่ขาวใส แวววาว ลองไปดูตัวอย่างกันนะ เครื่องเงินต้มน้ำมาขามเปียก
baking-sodaวิธีที่ 4 เอาน้ำใส่หม้อ เติมโซดาซักผ้า 2 ช้อนชา เอาเครื่องเงินใส่ลงต้มแล้วล้างให้สะอาดเช็ดให้แห้งขัดด้วยผงขัดเงินเช็ดด้วยผ้านุ่มๆ
potato-boilวิธีที่ 5 เอาแช่ไว้ในน้ำต้มมันฝรั่ง 1 ชั่วโมง แล้วนำขึ้นล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้งจะดูเป็นเงาเหมือนใหม่
yakultวิธีที่ 6 ใส่เครื่องเงินลงในนมเปรี้ยว 1 ชั่วโมง แล้วล้างอย่างธรรมดา เช็ดให้แห้ง (อันนี้ยังไม่เคยลอง)
lemon-ashวิธีที่ึ 7 ใช้น้ำมะขามเปียกหรือน้ำมะนาวผสมขี้เถ้าขัด แล้วล้างด้วยน้ำสบู่ผสมน้ำอุ่น ล้างน้ำสะอาด และเช็ดให้แห้ง ถ้าไม่ใช้น้ำมะขามเปียกจะใช้ยาขัดชนิดผงหรือน้ำที่มีขายตามร้านค้าหรือห้าง สรรพสินค้ามาใช้ทำความสะอาดก็ได้เพื่อความสะดวก แต่ยาขัดชนิดนี้จะมีส่วนผสมของอลูมิเนียมและโซดาอยู่
toothpasteวิธีที่ึ 8 บีบยาสีฟันออกจากหลอดแล้วไปตากให้แห้ง จากนั้นบดให้ละเอียดผสมน้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ใช้สำลีชุบส่วนผสม นำไปขัดเครื่องเงินให้ทั่ว หรือจะใช้ขี้บุหรี่ผสมน้ำมะนาวขัดแทนก็ได้

เมื่อทำความสะอาดแล้ว ให้แยกเครื่องเงิน ออกแต่ละชิ้นห่อด้วยกระดาษทึบแสง ไม่ให้ถูกอากาศจะดูใหม่อยู่เสมอ ส่วนของที่ไม่ควรอยู่ใกล้เครื่องเงิน คือ เกลือ ไม้ขีดไฟ น้ำผลไม้และยางเพราะจะทำให้เครื่องเงินดำ

ระวัง!! ห้ามใช้บัสโซกับเครื่องเงินชุบโดยเด็ดขาด เพราะเหมาะกับการขัดเครื่องทองเหลืองเท่านั้น ถ้าใช้กับเครื่องเงินชุบอาจทำให้เงินลอกออกได้


ทำครีมขัดเครื่องเงินใช้เองกันเถอะ

มีเครื่องเงินเก่าๆ หมองๆ ทำครีมขัดเครื่องเงินใช้เองกันมั้ย

เครื่องเงินที่เก็บไว้นาน อาจมีสีหมองคล้ำไม่ค่อยแวววาวสดใสจนดูไม่งามนัก วันนี้มีเคล็ดลับดีๆในการทำครีมขัดเครื่องเงิน อิอิ รับรองว่าวิธีนี้จะช่วยให้เครื่องเงินของคุณกลับมาแวววาวสดใส เหมือนซื้อมาใหม่เลยครับ

เตรียมวัสดุตามนี้เลยครับ

    1. ยาสีฟัน
    2. น้ำสัมสายชู
    3. น้ำมันมะกอก
    4. โกร่งบดยา
    5. บิกเกอร์
    6. แท่งแก้วคน
    7. ตลับใส่ครีม

วิธีทำ

    1. บีบยาสีฟันจากหลอดแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง
    2. นำยาสีฟันแห้งมาบดให้ละเอียดเป็นผงด้วยโกร่งบดยา
    3. ใส่ยาสีฟันผงลงในบิกเกอร์ เติมน้ำส้มสายชูลงไปประมาณไม่ให้เหลวเกินไปคนให้เข้ากันโดยใช้แท่งแก้ว เติมน้ำมันมะกอก แล้วคนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน อย่าให้เหลวเกินไป
    4. เทลงตลับ สามารถนำไปใช้ขัดเครื่องเงินเครื่องทองให้แวววาวสดใส

การใช้งาน
ใช้สำลีหรือผ้านุ่มแตะครีมขัดเครื่องเงินเครื่องทองเสร็จแล้วใช้ผ้านุ่มสะอาดลูบเบา ๆ แค่นี้เครื่องเงินจะ แวววาวสดใส เหมือนใหม่ อีกครั้งครับ

madecramewash


วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีทำความสะอาดเครื่องเงินแบบบ้านๆ

ครื่องเงินหมอง เครื่องมือก็ไม่มี ทำยังไงดีเนี่ย

ต้องทำใจกันนิดนึงครับว่า เครื่องเงินใช้ไปนานๆ มันก็ดำได้ หรือหมอง
วันนี้ก็เลยมีวิธีการ
ทำความสะอาดเครื่องเงินแบบง่ายๆ ตามบ้าน มาฝากกันค่ะ
อุปกร์ณหลักคือ แต่น แต้น .. น้ำมาขามเปียกนี่เอง หรือน้ำมะนาวก็ได้นะ

เริ่มจากต้มน้ำมะขามเปียกก่อนนะ
cleansilver01-300x225

เครื่องเงินที่จะนำมาล้าง
cleansilver02-300x225

พอน้ำมะขามเดือด ก็ใส่เครื่องเงินลงไป
cleansilver04-300x225

ขัดๆถูๆสักหน่อย ด้วยแปรงสีฟันก็ได้นะ
cleansilver05-300x225

แล้วก็แช่อีกแป๊บนึง จากนั้นเอาขึ้นมาล้าง ลองดูซิว่าขาวมั๊ย…
cleansilver07-300x225

เป็นไงค่ะ ง่ายมั้ย


วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การดููแลรักษาเครื่องประดับ

วิธีดูแลรักษาเครื่องประดับ แบบง่ายๆ ทำได้เอง

เครื่องประดับ ,เครื่องเงิน วิธีดูแลรักษาแบบง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก

jewelry-set1

  • earrringขณะใส่ไม่ควรให้เครื่องประดับโดนเครื่องสำอางค์ โลชั่น แป้ง น้ำหอม สารเคมีอื่นๆ ที่จะทำปฏิกิริยาให้เครื่องประดับของคุณหมอง ด่าง เกิดสนิมได้ (ในอะไหล่บางชนิด)
  • หากเป็นเครื่องประดับถักร้อยด้วยเอ็น ควรหลีกเลี่ยงความร้อนสูง หรือ เปลวไฟ
  • หลีกเลี่ยงการขีดขูด ตกกระทบ
  • หลังใช้ควรทำความสะอาด ล้างน้ำสบู่ น้ำผสมน้ำยาล้างจาน หรือ น้ำผสมแชมพูสระผม แล้วใช้ผ้าสะอาดซับเช็ดให้แห้ง ผึ่งลมสักครู่แล้วเก็บใส่ถุงผ้าใส่เครื่องประดับ แล้วจึงไปใส่กล่องรวมกัน แยกถุงเพื่อมิให้เครื่องประดับกระทบกันเอง

silver-ring1
หากสงสัยว่า ถ้างั้นใส่อาบน้ำไปเลยได้ป่าว…ก้อล้างน้ำสบู่นินา…ก้อพอได้แต่ ไม่ควรและอย่าบ่อย เพราะการจงใจนำมาล้างก็จะไม่ใช่ประจำเช้าเย็นเช่นการอาบน้ำ และ อาบตัวคุณก้อต้องอาบและเช็ดเครื่องประดับคุณให้สะอาดไปด้วยนะคะ หากอาบน้ำเสร็จแล้วเครื่องประดับติดตัวอยู่การทำให้แห้งจะต้องทำเลย อย่าปล่อยให้นาน…

ปล. กรณีใครมีจิวเวลรี่ราคาแพง เพชรอะไรประมาณนี้ ล้างน้ำยาล้างจานอ่อนๆ ผ้าสะอาดซับให้แห้ง ผงขัดเพชรที่มีขายตามร้านเครื่องประดับ แปรงเก่าขนนุ่มปัดๆ ชักเงาด้วยผ้าเช็ดเครื่องประดับโดยเฉพาะ แล้วเก็บใส่ตู้เซฟไว้อย่างนั้นห้ามนำมาใส่เพราะโจรจะปล้น จะรักษาเครื่องประดับให้สวยอยู่กับเราได้นานนาน


วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเลือกซื้อเครื่องเงินที่ดี

เลือกซื้อเครื่องเงินยังไงดี ถึงได้ของดี สมราคา

silver-set-2

คนที่ซื้อเครื่องเงิน ทุกคน คงต้องบอกว่า ฉันอยากได้ของถูก คุณภาพดีด้วยกันทั้งนั้น
งั้นวันนี้เรามาดูกันถึงวิธีการเลือกซื้อเครื่องเงินกันครับ ว่าควรต้องดูอะไรบ้าง

  • เลือกลวดลายหรือแบบตามชอบใจ
  • ตรวจสอบความอ่อน-แข็งของเนื้อเงิน เพราะเนื้อเงินแท้จะจะค่อนข้างอ่อน บิดดัดได้ง่าย เมื่อลองจับดูแล้วพบว่าของชิ้นนั้นแข็งเกินไป แสดงว่าผสมโลหะอื่นเข้าไปมาก
  • ตรวจสอบสภาพโดยทั่วไปของเครื่องเงินว่ามีรอยบุบ ชำรุด หรือรอยที่พื้นผิวหรือไม่ เครื่องเงินที่ดีควรจะอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยตำหนิ หรือรอยชำรุดใดๆ
  • ให้สอบถามที่มา และข้อมูลเครื่องเงินจากคนขายครับ เราจะได้ข้อมูลมาช่วยตัดสินใจมากเลย
  • สุดท้ายครับ ให้กลายเป็นลูกค้าประจำกับร้านขายเงินดีๆสักร้าน แล้วคุณอาจได้อะไรดีๆจากเจ้าของร้านนะ (อันนี้ผมทำอยู่ หุหุ)
  • silver-set-1

    นี่เป็นวิธีเลือกซื้อเครื่องเงินแบบทั่วๆไปครับ
    โดยถ้าหากเครื่องเงินที่เราซื้อ เป็นเครื่องเงินโบราณ หรือเครื่องถม ด้วยแล้ว
    จะต้องมีความชำนาญในการประเมินชิ้นงานเป็นอย่างมาก
    ตรงนี้ผมก็ยังไม่ชำนาญเหมือนกัน

    ยังไงขอให้ได้เครื่องเงินถูกใจกันทุกคนนะค่ะ


วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เวลาซื้อเครื่องเงิน จะทดสอบอย่างไรว่าเป็นเงินแท้


ทำไมเราถึงจะรู้ว่า เครื่องเงินนั้นเป็นเงินแท้หรือเปล่า
เป็นเรื่องยากที่ผู้ซื้อจะสามารถล่วงรู้ใด้ว่าเครื่องเงินที่ตนซื้อนั้นเป็นเงินจริงหรือเงินปลอม เพราะการพิสูจน์เครื่องเงินไม่สามารถ’ดู’ ได้ด้วยตาเปล่า

คุณ อนันต์ แสงวัณณ์ เลขาธิการสมาคมเครื่องถมและเครื่องเงินไทย บอกว่า ปัจจุบันการปลอมแปลงเนื้อเงินทำได้แนบเนียนขึ้น ต้องพิสูจน์ด้วยน้ำยาหรือเครื่องมือที่ทำขึ้นโดยเฉพาะจึงจะรู้ คุณอนันต์แนะว่า เครื่องเงินปลอม หรือเงินที่ไม่บริสุทธิ์ ปลอมปนโลหะชนิดอื่นในปริมาณมาก จะมีน้ำหนักเบากว่าเงินแท้ ถ้าชื้อเครื่องประดับเงินหนักเพียงบาทสองบาทคงพอเทียบน้ำหนักกับเครื่อง ประดับทองที่เรามีติดตัวได้บ้าง เพราะทองและเงินในน้ำหนัก ๑ บาทจะมีค่า ๑๕ กรัมเท่ากัน

แต่ถ้าชื้อเครื่องเงินน้ำหนักมาก เช่นเข็มขัดเส้นโต คงยากที่จะพิสูจน์ เรื่องเครื่องเงินปลอมปนนั้น ไม่เฉพาะคนไทยเท่านั้นที่ถูกหลอก ชาวต่างประเทศก็ถูก ‘ต้ม’ มานักต่อนัก คุณอนันต์บอกว่าชาวต่างประเทศไม่รู้จะไปเอาเรื่องกับใครถึงกับทำฎีกาถวาย ในหลวงก็มี

ได้อ่านหนังสือ ‘เครื่องเงินในประเทศไทย’ ของคุณแน่งน้อย ปัญจพรรค์ เห็นว่ามีข้อมูลน่าสนใจจึงขอคัดมาแถมท้ายดังนี้

โลหะ เงินที่เรารู้จักกันนั้น มีที่มาทั้งจากที่เป็นสินแร่เงินโดยตรง เช่น เป็นเกล็ดเล็ก ๆ หรือเป็นเลนปนในดินหินทราย เป็นก้อนเงินบริสุทธิ์ และทั้งที่เป็นสารประกอบปนอยู่ในแร่อื่น ๆ ในอดีตเราอาจทำโลหะเงินจากแร่เงินโดยตรง แต่ปัจจุบันแร่ที่ให้โลหะเงินโดยตรงเกือบไม่มีแล้ว ต้องใช้วิธีแยกโลหะออกจากการถลุงโลหะอื่น เช่น ตะกั่ว สังกะสี และทองแดง เป็นต้น

ไม่น่าเชื่อว่าเงินนั้นอาจตีแผ่เป็นแผ่นได้บางถึง ๐.๐๐๐๐๑ นิ้ว เงินหนัก ๐.๐๖ กรัมสามารถดึงให้ยาวได้ถึง ๔๐๐ ฟุต



นอกจากนั้นเงินยังเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดีที่สุด ต่อต้านการกัดผุได้แทบทุกชนิด ทนทานต่อการกัดของกรดน้ำส้มได้เป็นพิเศษ แต่ควันหรืออากาศที่มธาตุกำมะถันผสมจะจับผิวให้คล้ำคำจนมองไม่เห็นเนื้อ เงิน

เงินมีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ในทางอุตสาหกรรมเงินผสมโลหะอื่นใช้ในการเชื่อมต่อ ใช้ทำส่วนประกอบเครื่องกลต่าง ๆ และยังใช้เป็นสารประกอบในการทำฟิล์มอีกด้วย ในวงการแพทย์เงินเป็นตัวกันไม่ให้แผลเน่า ใช้ป้องกันสมองแทนชิ้นส่วนของกะโหลกศีรษะที่ถูกตัดทิ้ง ใช้ตามกระดูก ใช้ผสมปรอทและอื่น ๆสำหรับอุดฟันได้ดีมาก

เงินหรือโลหะเงินที่เรา รู้จักกันนั้นเป็นทั้งเงินบริสุทธิ์ ๑๐๐% และเงินผสมเพื่อความแข็งแกร่งในการทำรูปพรรณ เงินที่น่าจะกล่าวถึงในที่นี้มี ๒ อย่างคือ เงินสเตอร์ลิง (Sterling) หมายถึง เงินที่มีทองแดงผสมไม่เกิน ๗.๕% เป็นมาตรฐานสากลของเครื่องเงินที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้ทั่วไป และเงินอีกชนิดซึ่งความจริงไม่ใช่เงิน คือ เงินเยอรมัน เป็นเงินเทียมที่ประกอบด้วยทองแดงและนิกเกิล ไม่มีเนื้อเงินเลย

วิธีพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเงินนั้น สมัยก่อนใช้ขูดหรือบากเนื้อเงินลงไปดื้อ ๆ ดังจะเห็นได้จากรอยบากที่เงินพดด้วง แต่สมัยนี้ใช้น้ำกรดดินประสิว ถ้าเป็นเงิน ๑๐๐% ก็จะขาวนวลไม่เปลี่ยนแปลงถ้าเป็นเงิน ๙๒.๕% จะมีสีเขียวนิด ๆ ถ้าปลอมปนมากก็จะเขียวมากตามสัดส่วน

เงินแท้ บริสุทธิ์นั้น เมื่อถูกควันบางชนิดจะดำดังได้กล่าวแล้ว เงินไม่บริสุทธิ์ที่ผสมโลหะอื่นมากเกินมาตรฐานนั้นเมื่อทิ้งไว้จะไม่ดำแบบ เงินแท้ แต่จะออกเหลืองหรือแดงตามสีโลหะที่ผสม เงินที่เก็บไว้อย่างมิดชิดในตู้ที่ปิดแน่นหรือในถุงพลาสติกจึงไม่ดำง่าย แต่ความดำของเงินนั้นสามารถล้างออกได้หลายวิธี เช่น ต้มน้ำร้อนบีบมะนาว ขัดถูด้วย แป้งดินสอพอง ใช้น้ำยาหรือครีมขัดโลหะหรือล้างด้วยกรด ซึ่งวิธีนี้จะขาวขุ่นมากเกินไป

สำหรับนิกเกิลซึ่งมีสีขาววาวคล้าย เงินนั้น เป็นโลหะเนื้อแข็งไม่มีราคา จึงมักจะถูกนำมาใช้แทนเงินในกรณีที่ต้องการทำสิ่งของราคาถูก เช่น เครื่องประดับหรืออื่น ๆ แต่นิกเกิลนั้นมีความใสวาวมากกว่าเงินแท้ซึ่งขาวนวลมากกว่า

ไทยไม่มี แร่เงินของตนเอง แต่โบราณสมัยที่ยังใช้โลหะเงินทำเป็นเงินตรา เราก็นำโลหะเงินเข้ามาจากจีนโดยแลกกับข้าว ต่อมาเมื่อเริ่มใช้เหรียญกษาปณ์ พวกเงินตราเก่า ๆ ก็กลายเป็นที่มาของเงินที่นำมาหลอมสกัดเอาเนื้อเงินมาทำเครื่องใช้ จนแม้ไม่นานมานี้เหรียญเงินรูปีบ้าง เหรียญเงินอินโดจีนบ้าง ก็ยังเป็นเนื้อเงินหลักของช่างทำเงิน

ในปัจจุบัน เหรียญเก่า ๆ เกือบไม่มีแล้ว ความต้องการโลหะเงินมาใช้ในลักษณะสินค้าส่งออกมีมากขึ้น เงินแท่งจากที่ต่าง ๆ ทั้งพม่าและตามแนวชายแดนต่าง ๆ เป็นที่มาสำคัญ กิจการขนาดเล็กจะหาเงินจากร้านค้าทองในรูปแบบของเงินแท่งบ้าง เงินบริสุทธิ์เป็นเม็ด ๆ บ้าง หรือเป็นแผ่นตามมาตรฐานความหนาบางและความบริสุทธิ์เท่าที่ต้องการ กิจการใหญ่ ๆ ต้องสั่งเข้าเนื้อเงินบริสุทธิ์เป็นเม็ด ๆ จากต่างประเทศโดยตรงเช่นจากสวิสและอื่น ๆ ระบบภาษีและมาตรการทางศุลกากรมีผลต่อราคาเครื่องเงินเป็นอย่างมาก

“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”

เครื่ื่องประดับเงิน

ว่าจะมาเป็นเครื่องประดับเงิน ที่เราใส่กัน

silver-mine

เงิน (Silver)
เป็นโลหะที่มีความขาว มีคุณสมบัติบิดโค้งงอ แผ่เป็นแผ่นได้ดีมาก จัดอยู่ในกลุ่มโลหะมีค่า โลหะเงินบริสุทธิ์จะมีความอ่อนมากจนไม่สามารถนำมาทำเครื่องประดับได้ ต้องผสมทองแดง เพื่อให้มีความแข็งเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือเงินสเตอร์ริง (STERING SILVER) มีส่วนผสมของเงินบริสุทธิ์ 92.5% และทองแดง 7.5% ทำให้มีความแข็งเพิ่มขึ้น แต่ยังคงมีความอ่อนทำให้สามารถทำงานได้ง่าย จึงเป็นที่นิยมของช่างทำเครื่องประดับและภาชนะเงิน (Silver Ware)

acanthite

คำว่าสเตอร์ริง มาจากชื่อ เอสเตอร์ริง (Estering) ซึ่งเป็นชื่อของบริษัท Eastern Germans ที่ได้รับการว่าจ้างจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 ของอังกฤษ ในการผลิตเหรียญกษาปณ์ในศตวรรษที่ 12 และบางครั้งสเตอร์ริง ก็จะหมายถึงเงินบริสุทธิ์ 92.5 % คอยน์ซิลเวอร์ (COINSILVER) คือเหรียญที่ทำด้วยโลหะเงินผสม ก่อนปี ค.ศ. 1966

สหรัฐอเมริกาได้นำโลหะเงินมาผลิตเหรียญกษาปณ์มาใช้ในประเทศ โดยใช้เงินบริสุทธิ์ผสม 90% และทองแดง 10% แต่ในปัจจุบันในสหรัฐอเมริกาใช้เงินบริสุทธิ์เพียง 40% เท่านั้น โลหะเงินได้นำมาใช้ทำเครื่องประดับเนื่องจากคุณสมบัติที่ดีต่างๆ ของมัน เป็นโลหะมีค่าที่ราคาไม่แพง แต่เมื่อผลิตแล้วจะสามารถจำหน่ายได้ด้วย คุณค่าของเครื่องประดับนั้นๆ

ในวงการเครื่องประดับ เครื่องประดับเงินถือว่าเป็น”เครื่องประดับเทียม” เนื่องจากเงินเป็นวัสดุที่มีราคาถูก แต่หากประดับด้วยอัญมณีแท้แล้ว(มักจะเป็นพลอยเนื้ออ่อน)จะเรียกว่าเป็น “เครื่องประดับกึ่งเทียม” ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะประดับด้วยอัญมณีสังเคราะห์มากกว่า

silver-jewelry

เครื่องประดับเงินเป็นที่นิยมกันมากในประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัทเครื่องประดับหลายๆ แห่งในประเทศไทย ก็ได้ทำงานเหล่านี้ส่งออกไปขายครับ โดยมากมันจะเป็นงานสไตล์ Street ware เป็นส่วนใหญ่

street-silver

ซึ่งสีดำที่เห็นอยู่ในเครื่องประดับ เป็นการนำกำมะถันมาต้มให้อุ่น แล้วนำมาแต้มที่ชิ้นงานเพื่อให้เป็นสีดำ เหมือนที่เราไปเที่ยวน้ำพุร้อนแล้ว เครื่องประดับเงินของเราเปลี่ยนสีกลายเป็นสีดำ